ธุรกิจ SME คว้าโอกาสด้านการเติบโตในเอเชียแปซิฟิก
เอเชียเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในระดับแนวหน้า และในปี 2567 ก็ได้รับการคาดหวังให้มีส่วนช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถึงราวๆ 60% ดังนั้นจึงเป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่ให้บรรดาธุรกิจที่กำลังต้องการขยับขยายกิจการ เทคโนโลยียังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของวงการธุรกิจในแง่ของการช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถขยับขยายและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ บริษัททั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีกันมากขึ้น และดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหลัก ไม่ว่าจะมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ หรือทำให้ทั้งสินค้าและบริการส่งมอบได้รวดเร็วกว่าและมีคุณภาพยิ่งกว่าเดิม
ผู้ชนะทั้ง 4 รายจากการประกวด FedEx Asia Pacific Small Business Grant Contest (SBGC) ประจำปี 2567 แสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องอีกครั้งว่าไม่จำเป็นต้องมีกิจการใหญ่ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายได้ ธุรกิจสตาร์ทอัพทั้ง 4 แห่งเหล่านี้อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการเติบโตทั้งในภูมิภาคและในระดับที่สูงกว่านั้น
สิงคโปร์ – Lucence: จัดการมะเร็งร้ายด้วยการตรวจหาตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาอย่างทันท่วงที
Lucence เป็นผู้ชนะจากงาน SBGC ประจำปีนี้สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทสตาร์ทอัพรักษามะเร็งแบบตรงจุดแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 โดยแพทย์มะเร็งวิทยาและนักพันธุกรรมมะเร็ง Tan Min-Han โดยทางบริษัทได้พัฒนาการทดสอบแบบไม่ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อตรวจวินิจฉัยมะเร็งได้อย่างแม่นยำ
Lucence ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์และเมืองพาโลอัลโต นำเสนอบริการสร้างโปรไฟล์จีโนมแบบครอบคลุมผ่านการตรวจเลือดซึ่งไม่ต้องใช้การผ่าตัด โดยสามารถตรวจสอบได้ทั้งการกลายพันธุ์ของมะเร็งที่เกี่ยวข้องทางคลินิกและตัวชี้วัดทางชีวภาพของเนื้องอกหลายประเภท การตรวจนี้เรียกว่า LiquidHALLMARK® สามารถจัดทำโปรไฟล์ยีนได้ 80 รายการและตรวจหามะเร็งได้ 15 ประเภท
Lucence ได้บรรลุเป้าหมายสำคัญในปี 2566 เมื่อการตรวจหามะเร็งของบริษัทได้รับการอนุมัติจาก Medicare ซึ่งเป็นโปรแกรมประกันสุขภาพที่สนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ
“เทคโนโลยีที่เราได้สร้างขึ้นทำให้มั่นใจว่าจะตรวจพบมะเร็งได้เร็วขึ้น รักษาได้ผลยิ่งกว่าเดิม หรืออาจรักษาให้หายขาดได้ด้วย” Tan กล่าว “การศึกษาวิจัยนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ ก็เพราะความสามารถทั้งในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวและในการส่งมอบให้บรรดาผู้ป่วยและผู้ที่มีข้อกังวลด้านสุขภาพเข้าถึงได้ ตอนนี้เรามีโอกาสในการนำเสนอผลงานนี้ต่อกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นทั่วโลกแล้ว”
ฟิลิปปินส์ – SariSuki: สร้างประเทศให้มีความมั่นคงทางอาหาร
บริษัทสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเกษตรแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2563 เพื่อรับมือกับการระบาดทั่วโลกของ COVID-19 แพลตฟอร์มการซื้อจากกลุ่มชุมชนแห่งนี้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ในราคาที่ถูกกว่า ช่วยให้คนในชุมชนได้เชื่อมต่อกับเกษตรกรในพื้นที่เดียวกัน Brian Cu ผู้ก่อตั้งร่วมและ CEO ของ SariSuki มีเป้าหมายว่าจะพลิกโฉมวงการค้าปลีกในฟิลิปปินส์ เขากล่าวว่า “ผลผลิตต้องใช้เวลานานกว่าจะเดินทางไปถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นราคาจึงแพงขึ้นตามไปด้วย ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถซื้อผลผลิตที่สดใหม่ได้” เมื่อตัดคนกลางออกไป Cu ก็สามารถปรับปรุงซัพพลายเชนและลดราคาผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่ได้
ในระยะยาว SariSuki ตั้งเป้าหมายว่าจะช่วยให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางอาหาร เป้าหมายนี้จะสำเร็จได้ด้วยการจับมือกับพันธมิตรเกษตรกรเพื่อสร้างผลิตผลให้อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งทำให้ผู้คนเข้าถึงและซื้อผลผลิตได้มากขึ้น “ด้วยเครือข่ายที่มีผู้นำชุมชนและพันธมิตรกว่า 30,000 ราย เราจะสามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลผลิตต่างๆ ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส” Cu กล่าว
มาเลเซีย – Aerodyne: ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
Aerodyne เป็นผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีโดรนซึ่งใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง จึงช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงผลการทำงาน ปรับลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความปลอดภัยได้พร้อมๆ กับการเสริมคุณภาพการดำเนินงาน เดิมที บริษัทก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขข้อกังวลด้านความปลอดภัยอันมีส่วนมาจากโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น สายไฟและเสาโทรศัพท์ ส่วนใหญ่แล้วในขณะนั้น การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะใช้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเทคโนโลยีโดรน บริษัทก็สามารถเปลี่ยนกระบวนการนี้ให้กลายเป็นงานอัตโนมัติได้ จึงช่วยให้พนักงานที่เป็นบุคคลปลอดภัย อีกทั้งยังลดเวลาการใช้แรงงานจากที่เคยต้องใช้หลายวันเหลือเพียงไม่กี่นาที
“เรานำเสนอโซลูชันที่มีความสมเหตุสมผลในเชิงธุรกิจ” Kamarul A Muhamed ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Aerodyne Group กล่าว
“โซลูชันเหล่านี้ทั้งเร็วกว่า ดีกว่า ถูกกว่า และยังปลอดภัยกว่า”
ขณะนี้ทางบริษัทกำลังช่วยภาคการเกษตรแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารอยู่ โดยใช้โดรนในการหว่านเมล็ด รดน้ำ วิเคราะห์พืช และจัดทำแผนผัง ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากกว่า 60% บริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้กำลังพิจารณาความเป็นไปได้อันไร้ที่สิ้นสุดจากบริการจัดส่งผ่านทางโดรน และไม่นานมานี้ก็เพิ่งเข้าทำข้อตกลงกับ DroneDash Technologies เพื่อนำเสนอบริการจัดส่งทางพาณิชย์ขนาดย่อมระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย
อินโดนีเซีย – Fresh Factory: พึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพและความโปร่งใส
Fresh Factory ก่อตั้งขึ้นในช่วงการระบาดทั่วโลกในปี 2563 โดยเป็นบริษัทกระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะที่เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าแช่เย็น สินค้าแช่แข็ง และสินค้าแห้ง บริษัทนี้เริ่มต้นกิจการโดยมีศูนย์กระจายสินค้า 14 แห่งในเขตเมืองใหญ่จาการ์ตา ขณะนี้ได้ขยับขยายเป็น 40 แห่งใน 20 เมืองทั่วอินโดนีเซีย โดยมีทั้งในเมืองเมดัน เซอมารัง และยกยาการ์ตา
เนื่องจากระบบการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิมีลักษณะซับซ้อน บริษัทจึงอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI และ IoT เพื่อสร้างศูนย์จัดเก็บสินค้าควบคุมอุณหภูมิและวิธีการขนส่งตามความต้องการของ SME และองค์กรขนาดใหญ่ Larry Ridwan ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Fresh Factory กล่าว
“เราช่วยให้ธุรกิจจัดเก็บและจัดส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิได้รวดเร็วกว่า ถูกกว่า และดีกว่าด้วย” เขากล่าว “ไม่ว่าจะเป็นงานอัตโนมัติหรือการเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล เทคโนโลยีก็ทำให้เรามีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ และน่าเชื่อถือมากขึ้น” บริษัทมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในวงการสินค้าควบคุมอุณหภูมิในอีก 5 ปีข้างหน้า
ปรับปรุงซัพพลายเชนให้ชาญฉลาดขึ้นสำหรับทุกคน
ซ้ายไปขวา – Kawal Preet ประธานฝ่ายเอเชียแปซิฟิกของ FedEx กับ CEO ของบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 4 ได้แก่ Tan Min Han (Lucence), Brian Cu (SariSuki), Kamarul A Muhamed (Aerodyne) และ Larry Ridwan (Fresh Factory)
ความสำเร็จของบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 4 แห่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่พึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะสามารถยกระดับธุรกิจของตนได้ ในฐานะผู้ที่สนับสนุน SME อย่างแข็งขัน โดยเป็นตัวแทนธุรกิจประมาณ 90% ทั่วโลก FedEx มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือบริษัทลักษณะเช่นเดียวกันนี้ให้สามารถขยับขยายและบรรลุศักยภาพที่มีอยู่ ผ่านการมอบทรัพยากร รวมทั้งเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ
“SME ในเอเชียหันมาลงทุนกับข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลกันมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานในภาพรวม อีกทั้งยังช่วยให้สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลได้อีกด้วย” Kawal Preet ประธานฝ่ายเอเชียแปซิฟิกของ FedEx กล่าว “ในขณะที่เราลงมือปรับปรุงซัพพลายเชนให้ชาญฉลาดขึ้นสำหรับลูกค้า คุณค่าของข้อมูลเราและวิธีการที่เราทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้นั้นมีความสำคัญไม่แพ้คุณค่าของระบบเครือข่ายกายภาพเลย ดังนั้นเราจึงดำเนินการให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโซลูชันดิจิทัลที่จำเป็นในการปรับปรุงการจัดส่งระหว่างประเทศให้ง่ายดายที่สุดเท่าที่จะทำได้ และช่วยประหยัดเวลาในแต่ละวัน”
Lucence ผู้ชนะจากงาน SBGC ปี 2567 ได้รับรางวัลเป็นเงินสดมูลค่า 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ จาก FedEx ส่วนผู้เข้าชิงอีก 3 รายได้รับรางวัลเป็นเงินสดมูลค่า 13,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกบน Forbes.com เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567
อีกมากมายจากศูนย์ธุรกิจขนาดเล็ก
ธุรกิจสร้างสรรค์ขนาดเล็ก 4 แห่งที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
ผู้เข้ารอบสี่คนสุดท้ายของการประกวด FedEx Asia Pacific Small Business Grant Contest ประจำปี 2565 พิสูจน์ให้เห็นว่าคุณไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
เหตุใดธุรกิจขนาดเล็กจึงเลือกใช้บริการ FedEx
ตั้งแต่การจัดส่งที่เชื่อถือได้ ไปจนถึงประสบการณ์ทางการจัดส่งที่ราบรื่น และบริการที่ใช้งานง่าย โปรดอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ FedEx สามารถยกระดับธุรกิจของคุณ