FedEx History

ประวัติความเป็นมาของ FedEx ใน APAC

FedEx Express (FedEx) เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายระหว่างประเทศเป็นเวลากว่า25 ปีแล้ว ตั้งแต่บริษัทได้ลงทุนซื้อบริษัทขนส่งสินค้า Gelco Express International ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในยุโรปและเอเชีย

2527

  • ซื้อกิจการ Gelco บริษัทขนส่งสินค้าซึ่งมีสำนักงานในยุโรปและเอเชีย

  • เริ่มดำเนินกิจการ FedEx ในจีนและญี่ปุ่น

2530

  • ก่อตั้งสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่งแรกในฮาวาย

2531

  • เริ่มให้บริการขนส่งสินค้าโดยตรงตามตารางเวลารายแรกไปยังประเทศญี่ปุ่น

  • ให้บริการเที่ยวบินขนส่ง 4 เที่ยวต่อสัปดาห์ระหว่างเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน และนาริตะ

2532

  • เข้าซื้อกลุ่มธุรกิจ Flying Tiger Line ทำให้ FedEx ได้รับสิทธิ์ให้บริการเที่ยวบินขนส่งไปยัง 21 ประเทศ/เขตการปกครอง

  • เริ่มดำเนินกิจการ FedEx ในประเทศออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย

2533

  • เริ่มดำเนินธุรกิจ FedEx ในไต้หวัน

2534

  • เริ่มให้บริการภาคพื้นดินเองในประเทศมาเลเซีย โดยเข้าซื้อกิจการ Nationwide Express ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าในประเทศ และกลุ่มรถขนส่งสินค้าของ Nationwide Express

  • เข้าซื้อกิจการ Flying Korea Co. Ltd. เพื่อให้เป็น GSA ของ FedEx ในเกาหลีใต้ 

2535

  • ย้ายสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

2537

  • ก้าวขึ้นเป็นบริษัทขนส่งด่วนรายแรกที่เชื่อมต่อกับหน่วยงานศุลกากรประเทศจีนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

  • เริ่มให้บริการเที่ยวบินขนส่งสินค้าเข้าและออกจากประเทศจีน ด้วยเครื่องบินขนส่งของตนเองทุกสัปดาห์ไปปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้

2538

  • เปิดตัวบริการ FedEx AsiaOne® ซึ่งเป็นบริการภายในภูมิภาคเอเชียพร้อมกับเปิดศูนย์กลางที่อ่าวซูบิก

  • เริ่มดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าเข้าและออกจากประเทศจีน

2539

  • เชื่อมต่อประเทศจีนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับศูนย์กลาง Subic Bay และสหรัฐอเมริกาโดยตรง

  • รับใบอนุญาตดำเนินธุรกิจบริการตรงระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

2540

  • เปิดตัวบริการเที่ยวบินรอบโลก (Round-the-World) ซึ่งจะปรับปรุงบริการระหว่างยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกาให้ดียิ่งขึ้น

  • เพิ่มเที่ยวบินระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา และจีน-เอเชียเป็น 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

  • เริ่มดำเนินงานศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า FedEx Chiang Kai Shek (CKS) ในไต้หวัน

  • เป็นสายการบินแรกในมาเลเซียที่บริหารจัดการเครื่องบินขนส่งของตนเอง นอกเหนือจากสายการบินประจำชาติของมาเลเซีย

  • เพิ่มบริการรับและจัดส่งพัสดุใน 8 จุดบริการในกรุงโซลและเมืองอื่นๆ ในเกาหลีใต้อีก 5 เมือง

  • เปิดตัว FedEx interNetShip® ซึ่งเป็นระบบการจัดส่งผ่านเดสก์ท็อปแบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ

2541

  • เชื่อมต่อเซบู จาการ์ตา และซิดนีย์กับเครือข่าย AsiaOne®

  • หลังจากสรุปการเจรจาข้อตกลงการบินทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น FedEx ได้ก้าวขึ้นเป็นบริษัทขนส่งสินค้าของสหรัฐอเมริกาเพียงรายเดียวที่ได้รับสิทธิ์แบบไม่จำกัดในการให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดระหว่างทางและเกินเส้นทางเข้าและออกจากญี่ปุ่น

  • ขยายบริการรับและจัดส่งพัสดุไปยัง 111 เมืองในจีน

  • เริ่มดำเนินงานระบบส่งด่วน FedEx ที่อาคารผู้โดยสาร Asia Airfreight ณ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

  • เปิดตัว FedEx International First® บริการจัดส่งพัสดุ Door-to-Door จากสิงคโปร์ไปยังเมืองใหญ่ 90 เมืองในสหรัฐอเมริกาภายในเวลา 8.00 น. ในวันทำการถัดไป

  • เปิดคลังสินค้า FedEx ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

  • เปิดตัว FedEx Ship ซึ่งเป็นโซลูชั่นขนส่งสินค้าที่ทำงานบน Windows

2542

  • เชื่อมต่อเมืองเซิ่นเจิ้น ประเทศจีนกับเครือข่าย AsiaOne

  • เข้าดำเนินกิจการในฐานะเจ้าของและบริหารกิจการของ FedEx ในประเทศไทยอย่างเต็มตัว

  • ลงนามในข้อตกลงกับ Shenzhen Airport (Group) Co. เพื่อเปิดเที่ยวบินเซิ่นเจิ้น

  • เพิ่มตารางเวลาเที่ยวบินไปยังปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้เป็น 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

  • ก่อตั้งกิจการร่วมทุน Federal Express-Da Tian Co., Ltd. ในปักกิ่งร่วมกับ Da Tian W. Air Service Corporation

  • เพิ่มบริการรับและจัดส่งพัสดุไปยัง 144 เมืองในจีน

  • เปิดศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการและดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ FedEx ทั่วภูมิภาคเอเชีย

2543

  • เข้าซื้อกิจการ Tower Group International เพื่อให้สามารถให้บริการด้านการค้าทั่วโลกได้อย่างครบถ้วน

  • เพิ่มเที่ยวบินจากโตเกียวไปยังปักกิ่งและสหรัฐอเมริกาเป็น 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

  • เพิ่มบริการรับและจัดส่งพัสดุไปยัง 190 เมืองในจีน

  • จัดส่งแพนด้ายักษ์ 2 ตัวจากจีนไปยังสวนสัตว์แห่งชาติ Smithsonian Institution ในวอชิงตัน ดี.ซี.

  • เริ่มให้บริการโดยตรงไปยังเกาหลีใต้อย่างเต็มรูปแบบโดยเข้าซื้อกิจการของ Pri-Ex Inc.

  • เพิ่มเที่ยวบินภายในประเทศไทย 7 เที่ยวบิน โดยมีเส้นทางตะวันออก 1 เส้นทางและเส้นทางตะวันตก 6 เส้นทาง

2544

  • เพิ่มประเทศเวียดนามเข้าในเครือข่าย AsiaOne

  • เพิ่มความถี่เที่ยวบินในจีน โดยเพิ่มความถี่เที่ยวบินตรงระหว่างเซี่ยงไฮ้และสหรัฐอเมริกา

  • เริ่มการดำเนินงานของศูนย์จัดการพัสดุด่วน FedEx-Da Tian ที่ศูนย์กำกับดูแลงานศุลกากร International Express Shanghai ณ ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ ผู่ตง

  • เพิ่มบริการรับและจัดส่งพัสดุไปยัง 198 เมืองในจีน รวมอาคารงานนำเข้า/ส่งออก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซในญี่ปุ่น

  • ขนส่งหุ่นจำลองของ SuperCronc ซึ่งเป็นจระเข้กินไดโนเสาร์อายุ 110 ล้านปียาว 11 เมตรในการจัดนิทรรศการของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จัดโดย National Geographical Channel ผ่านเครือข่าย AsiaOne

2545

  • เปิดเส้นทางรอบโลก โดยเชื่อมต่อสหรัฐอเมริกา เอเชียแปซิฟิก และยุโรป

  • เพิ่มบริการระหว่างเอเชียแปซิฟิกและยุโรป ด้วยเครื่องบินขนส่ง MD-11 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับพัสดุเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าและเพิ่มปริมาตรการขนส่งพัสดุอีก 50 ตันต่อวัน

  • ขยายศูนย์หลักในการคัดแยกประเภทพัสดุที่ Subic Bay โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 140,000 ตารางเมตร

  • ขยายพื้นที่ศูนย์บริการเป็น 8,700 ตารางเมตร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ Chiang Kai-Shek ในไทเป

  • เปิดข้อตกลงค้าปลีกเชิงกลยุทธ์กับ Singapore Post (SingPost) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าของ FedEx สามารถส่งพัสดุจากสาขาต่างๆ ของ SingPost ได้

  • บริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรายแรกและรายเดียวที่ให้ข้อเสนอรับประกันการคืนเงินให้กับลูกค้าในจีนแผ่นดินใหญ่

2546

  • เป็นบริษัทจัดส่งพัสดุด่วนรายแรกที่ให้บริการจัดส่งพัสดุด่วนถึงหน้าประตูบ้านในวันทำการไปยังเมืองดิลี ในติมอร์ตะวันออก นับตั้งแต่ที่ประเทศเป็นเอกราชในปี 2545

  • แยกจีนเป็นภูมิภาคอิสระโดยใช้เซี่ยงไฮ้เป็นฐาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถเสนอบริการที่ตรงตามความต้องการและรวดเร็วมากขึ้นแก่ลูกค้าชาวจีนได้

  • เปิดเที่ยวบินตรงซึ่งถือเป็นเที่ยวบินแรกในอุตสาหกรรมการขนส่งจากจีนใต้ไปยังทวีปอเมริกาเหนือ

  • จัดส่งแพนด้ายักษ์ 2 ตัวไปยังสวนสัตว์ Memphis ในรัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา

2547

  • ได้รับอนุญาตให้เพิ่มความถี่เที่ยวบินไปประเทศจีนอีก 12 เที่ยวบินจากกระทรวงการขนส่งแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. DOT)

  • เปิดสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคจีนในเซี่ยงไฮ้

  • เพิ่มเที่ยวบินไปยังประเทศเกาหลีเป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ซึ่งนับว่ามีความถี่เที่ยวบินสูงสุดไปยังเกาหลีใต้ภายในกลุ่มบริษัทจัดส่งพัสดุด่วนระหว่างประเทศ อีกทั้งขยายเวลาจุดรับฝากพัสดุเพิ่มอีก 2 ชั่วโมง

  • เปิดศูนย์บริการด้านการเงินเอเชียแปซิฟิกในประเทศสิงคโปร์ โดยให้บริการ 14 ประเทศทั่วทวีปเอเชีย

  • เปิดตัวบริการจัดส่งถึงผู้รับเวลาเที่ยงวันพร้อมข้อเสนอรับประกันการคืนเงิน ด้วยบริการ FedEx International Priority® ขาเข้าสำหรับพัสดุภัณฑ์ทุกรูปทรงและขนาดจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกาไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

  • เปิดตัวบริการ International Priority Dangerous Goods (IPDG) หรือบริการขนส่งสินค้าอันตรายด่วนระหว่างประเทศ เพื่อให้บริการที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และตามเวลาที่ระบุแน่นอน สำหรับสินค้าจำแนกประเภท (classified goods) หรือของต้องจำกัด (restricted goods) ในเมืองเมลเบิร์น ซิดนีย์ และบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และในประเทศสิงคโปร์

  • เปิดตัวบริการจัดส่งพัสดุทุกรูปแบบก่อนเวลาทำการให้กับลูกค้าในสิงคโปร์

2548

  • เปิดตัวเที่ยวบินจัดส่งพัสดุด่วนโดยตรงจากจีนไปยังยุโรปเป็นครั้งแรก จากเซี่ยงไฮ้ไปยังแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ในเส้นทางรอบโลกทางฝั่งตะวันตก ซึ่งเริ่มต้นและสิ้นสุดที่เมืองเมมฟิส

  • เปิดตัว IPDG ซึ่งเป็นบริการ International Priority ในประเทศไทย โดยให้บริการขนส่งสินค้าตรงตามเวลาที่ระบุแน่นอนสำหรับสินค้าจำแนกประเภทและของต้องจำกัด

  • ประกาศแผนการสร้างศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกใหม่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ Guangzhou Baiyun ในจีนตอนใต้

  • เปิดตัวบริการขนส่งสินค้าข้ามคืนโดยตรงรายแรกในอุตสาหกรรมระหว่างอินเดียและจีน ในเส้นทางรอบโลกทางฝั่งตะวันออก ซึ่งเชื่อมต่อยุโรป อินเดีย จีน และญี่ปุ่นกับศูนย์ FedEx ในเมืองเมมฟิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

2549

  • จัดพิธีเปิดศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกของ FedEx อย่างเป็นทางการ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ Guangzhou Baiyun

  • ประกาศข้อตกลงเข้าซื้อหุ้น 50% ของ DTW Group ในการจัดตั้งกิจการร่วมทุนในบริการจัดส่งพัสดุด่วน FedEx-DTW International Priority และเครือข่ายการจัดส่งพัสดุด่วนในประเทศของ DTW Group ในจีนเป็นจำนวนเงิน 400 ล้านดอลลาร์

  • เพิ่มความถี่เที่ยวบินอีก 3 เที่ยวบินที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงขนส่งแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2548 ซึ่งทำให้มีจำนวนความถี่เที่ยวบินรวมในจีนเพิ่มเป็น 26 เที่ยวบิน

  • เปิดตัวบริการเที่ยวบินแบบ point-to-point ระหว่างโซล เกาหลี และแองเคอเรจ ด้วยบริการเที่ยวบิน 5 เที่ยวต่อสัปดาห์ ทำให้จำนวนรวมเที่ยวบินของ FedEx ต่อสัปดาห์จากเกาหลีไปสหรัฐอเมริกาและปลายทางในเอเชียเพิ่มเป็น 25 เที่ยวบิน

  • เปิดศูนย์บริการใหม่ ณ ท่าอากาศยาน Brisbane ในออสเตรเลีย ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับความต้องการขนส่งสินค้าด่วนทางอากาศในบริสเบนได้มากกว่าสองเท่า

  • เปิดสถานี Shinsuna แห่งใหม่ในมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานีบริการที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ศูนย์บริการแห่งใหม่นี้มีพื้นที่มากกว่า 19,000 ตารางเมตร มีพนักงานมากกว่า 400 คน และติดตั้งเทคโนโลยีที่มีขีดความสามารถในการคัดแยกประเภทพัสดุได้ถึง 6,000 ชิ้นต่อชั่วโมง

2550

  • เปิดตัวบริการจัดส่งพัสดุภายในวันทำการถัดไปในประเทศในจีน เพื่อให้บริการจัดส่งพัสดุภายในวันทำการถัดไป ไปยังเมืองต่างๆ มากกว่า 30 เมืองและบริการขนส่งตรงวันที่ระบุไปยังเมืองต่างๆ มากกว่า 200 เมืองและมณฑลทั่วประเทศจีน ระบบขนส่งทางอากาศผ่านเมืองศูนย์กลาง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ Hangzhou Xiaoshan ที่มีขีดความสามารถในการคัดแยกประเภทพัสดุสูงสุดถึง 9,000 ชิ้นต่อชั่วโมง

  • นับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา FedEx ได้รับสิทธิ์ให้บริการเที่ยวบินขนส่งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนถึง 30 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

2551

  • เปิดตัวบริการ FedEx International Economy® ในตลาดเอเชียแปซิฟิก 13 แห่ง ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย จีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

  • เปิดตัวบริการเที่ยวบิน Airbus A310 ใหม่ไปยังเวียดนาม ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งพัสดุเข้าและออกจากประเทศ/เขตการปกครองได้อีก 5 เท่า และลดเวลาในการส่งพัสดุเข้าและออกจากฮานอย เมืองหลวงของเวียดนามได้ 1 วันทำการ

  • ปรับปรุงเว็บไซต์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใหม่ทั้งหมดและปรับปรุงเครื่องมือการส่งพัสดุผ่านเว็บ FedEx Ship Manager ที่ fedex.com ให้ดีขึ้น เพื่อสร้างอินเทอร์เฟซผู้ใช้ที่ใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงพัฒนาขั้นตอนการจัดส่งพัสดุให้รวดเร็วขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น

  • ฉลองครบรอบ 1 ปีของบริการ FedEx ภายในประเทศจีน พร้อมเสนอบริการขนส่งถึงผู้รับในเช้าวันถัดไปสู่ 9 เมืองหลักในประเทศจีน อีกทั้งขยายเวลาตัดยอดสำหรับการขนส่งระหว่างภูมิภาคในเขตลุ่มแม่น้ำแยงซี ที่ลุ่มปากแม่น้ำเพิร์ล ปักกิ่ง และเทียนจิน

  • เสร็จสิ้นการทดสอบการดำเนินการเที่ยวบินครั้งแรกที่ศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกแห่งใหม่ที่เมืองกวางเจา ในจีนใต้ในเดือนธันวาคม 2551 และประกาศตารางเวลาการเริ่มดำเนินการ

2552

  • เริ่มดำเนินงานศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกแห่งใหม่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติกวางโจวไป่หยุนที่เมืองกวางเจา จีนใต้ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552

  • เปิดศูนย์บริการลูกค้า FedEx ในเมืองวูฮั่น ประเทศจีน ในเดือนมิถุนายน 2552 ให้บริการลูกค้าที่ต้องการจัดส่งพัสดุด่วนระหว่างประเทศในจีนตะวันออก และลูกค้าภายในประเทศตามเวลาที่ระบุแน่นอนทั่วประเทศ/เขตการปกครอง

  • เปิดตัวบริการขนส่งถึงผู้รับในวันทำการถัดไป โดยเชื่อมต่อจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และสิงคโปร์กับฝรั่งเศสและเยอรมนี ปรับปรุงบริการโดยลดเวลาในการส่งสินค้าไปยังยุโรปสำหรับบริการ FedEx International Priority ให้เหลือเพียง 1 วันทำการจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และสิงคโปร์ ไปยังแฟรงก์เฟิร์ต โคโลญจน์ และปารีส ในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี

  • ขยายเวลาตัดยอดและเพิ่มบริการจัดส่งก่อนเวลาทำการในภูมิภาคที่ลุ่มปากแม่น้ำเพิร์ล โดยเริ่มให้บริการในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม 2552 ตามลำดับ

  • ปรับปรุงบริการจัดส่งด่วนขาเข้าระหว่างประเทศของ FedEx ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยเริ่มให้บริการในเดือนตุลาคม 2552 เวลาจัดส่งใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงนี้มีผลบังคับใช้กับบริการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ FedEx International Priority ขาเข้าทั้งหมด ไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของเซี่ยงไฮ้ ในวันจันทร์ถึงวันเสาร์ พร้อมข้อเสนอการรับประกันการคืนเงิน

2553

  • เปิดตัวบริการเครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 รายแรกที่เชื่อมต่อเมืองเซี่ยงไฮ้ในจีนแผ่นดินใหญ่กับศูนย์กลาง FedEx Super Hub ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเริ่มให้บริการครั้งแรกในวันที่ 4 มกราคม

  • เปิดตัวบริการ FedEx General Delivery ภายในประเทศจีน ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม โดยเป็นบริการแบบไม่ระบุเวลาแน่นอนที่ประหยัดมากกว่า แต่เชื่อถือได้เช่นเดียวกันกับที่ลูกค้าคาดหวังจาก FedEx

  • เริ่มต้นจัดส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ไฮบริดดีเซล-ไฟฟ้า 2 คันในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมของเมืองดีขึ้นโดยลดการปล่อยคาร์บอนลง 30% เมื่อเทียบกับรถยนต์ดีเซลที่ FedEx ใช้อยู่ในปัจจุบัน

  • ขยายบริการ FedEx International Economy และ International Economy® Freight จากเอเชียสู่ยุโรป-ตะวันออกกลาง (EMEA) และลาตินอเมริกาในเดือนมีนาคม พร้อมกับเพิ่มปลายทาง 11 และ 15 แห่งในทั้งสองภูมิภาคตามลำดับ ทำให้มีจำนวนปลายทางทั้งหมด 36 แห่งใน EMEA และ 16 แห่งในลาตินอเมริกา

  • เปิดตัวบริการเครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 รายแรกที่เชื่อมต่อเขตบริหารพิเศษฮ่องกงกับศูนย์กลาง FedEx Super Hub ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี และบริการขนส่งข้ามคืนใหม่จากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงสู่ศูนย์กลางยุโรปในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มให้บริการวันที่ 29 มีนาคม

  • เพิ่มจุดบริการประมาณ 1,000 แห่งในเครือข่าย FedEx ไต้หวัน ภายใต้ข้อตกลงตัวแทนเชิงพาณิชย์กับ Chunghwa Post บริการไปรษณีย์ที่เป็นทางการของไต้หวัน บริการ FedEx International Priority เริ่มให้บริการโดยแบ่งเป็นช่วงๆ ผ่านช่องทางบริการของ Chunghwa Post มากกว่า 1,000 แห่ง โดยจะจัดตั้งในรูปแบบศูนย์ FedEx Authorized Ship Centers ซึ่งลูกค้าในพื้นที่ที่ส่งไปรษณีย์มากกว่า 95% ในไต้หวันจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากดำเนินการในครั้งนี้

  • เปิดตัวบริการบินตรงจากท่าอากาศยานนานาชาติ Kansai ในเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น สู่ศูนย์กลาง FedEx Super Hub ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเริ่มให้บริการในเดือนมิถุนายน ด้วยเครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 เที่ยวบินนี้เริ่มต้นจากสิงคโปร์

  • ประกาศบริการพิเศษล่าสุดของ FedEx ได้แก่ บริการตู้สินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิและโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์สำหรับลูกค้ากลุ่มการดูแลสุขภาพและเภสัชภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการ FedEx HealthCare Solutions™ ในเดือนมิถุนายน

  • ประกาศขยายเวลารับพัสดุสำหรับการจัดส่งพัสดุมูลค่าต่ำระหว่างประเทศทั้งหมดของ FedEx ไปยังพื้นที่บริการในยุโรปจากเซี่ยงไฮ้ ซูโจว หางโจว นิงโบ และเชาซิงในเดือนกันยายน ลูกค้าในเขตพื้นที่ที่กำหนดใน 5 เมืองที่กล่าวมานี้มีเวลาเตรียมพัสดุเพิ่มอีก 2 ชั่วโมงในวันอังคารถึงวันศุกร์

  • ปรับปรุงการเชื่อมต่อของ FedEx ระหว่างประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยการเปิดตัวบริการเที่ยวบินใหม่ 2 เที่ยวบินในเดือนตุลาคม ซึ่งก็คือ เที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกใหม่จากเมืองปักกิ่ง ประเทศจีนไปยังเมืองแองคอเรจ รัฐอลาสกา โดยจะแวะพักที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ และบริการเครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 ที่เชื่อมต่อเมืองเซิ่นเจิ้นกับศูนย์กลาง FedEx Super Hub ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา

  • เปิดตัวโซลูชั่นเอกสารทางการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ของ FedEx ในเดือนตุลาคม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งสินค้าในออสเตรเลีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษมาเก๊า มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย สามารถอัพโหลดเอกสารจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากร อีกทั้งประหยัดเวลาและทรัพยากรไปพร้อมๆ กัน

  • เปิดตัวเที่ยวบินใหม่ขาเข้าและออกจากฮานอย 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ในวันอังคารถึงวันศุกร์ โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เที่ยวบินใหม่นี้จะสามารถลดเวลาในการส่งสินค้าสำหรับการขนส่งขาออกจากฮานอยได้ 1 วันทำการ

  • ใช้เครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 ในการให้บริการเชื่อมต่อโดยตรงจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงไปยังศูนย์กลาง FedEx Europe ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม

  • ปรับปรุงบริการส่งสินค้าระหว่างประเทศภายในวันเดียวกันจากจีนตะวันออกไปยังสหรัฐอเมริกา ด้วยเวลารับพัสดุเพิ่มขึ้นสูงสุด 2 ชั่วโมง ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยเริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม

2554

  • เปิดตัวการเชื่อมต่อโดยตรงใหม่ระหว่างอินเดียและศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกในเดือนมกราคม เที่ยวบิน A310 เฉพาะกิจใหม่ เชื่อมต่อจากศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกของ FedEx ในกวางเจา-มุมไบ-นิวเดลี-กวางเจา 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

  • เปิดตัวแอพพลิเคชั่น iPhone และ Blackberry  ใหม่ พร้อมปรับปรุงเว็บไซต์ FedEx Mobile ในเดือนมกราคม ซึ่งทำให้ลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถติดตามสถานะของพัสดุ ขอใบเสนอราคา นัดหมายการเข้ารับพัสดุในตลาดเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เขตบริหารพิเศษมาเก๊า มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน รวมถึงค้นหาศูนย์บริการ FedEx ใกล้เคียงได้

  • เปิดตัวการเพิ่มสมรรถนะเทคโนโลยีทั่วโลกสำหรับบริการ FedEx Critical Inventory Logistics ในเดือนมกราคม บริการ FedEx Critical Inventory Logistics ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสินค้าคงคลังสำคัญที่ศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาค และสถานที่ส่งต่อสินค้าทั่วตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด ได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไต้หวัน เป็นต้น

  • เปิดสถานีบริการ FedEx ขนาด 2,230 ตารางเมตรแห่งใหม่ในเมืองซูโจว ประเทศจีนในเดือนมีนาคม

  • ปรับปรุงเวลาขนส่งสินค้าขาเข้าในพื้นที่มหานครโตเกียว โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคมเป็นต้นไป

  • เปิดตัว FedEx International First ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นบริการส่งถึงประตูบ้านของผู้รับแบบตรงตามเวลาที่ระบุแน่นอนและผ่านพิธีการศุลกากรแล้ว โดยจะส่งพัสดุถึงผู้รับภายในเวลา 10.00 น. ในวันเดียวกันสำหรับการจัดส่งไปยังพื้นที่ตะวันออกและตอนใต้ของจีนและสิงคโปร์

  • ปรับปรุงบริการ FedEx International Priority® Freight ในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำให้สามารถจัดส่งพัสดุไปยังปลายทางในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงก่อนเที่ยงวันได้

  • ลงนามในบันทึกความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Shanghai Airport (Group) Company Limited ในเดือนมิถุนายน ภายใต้ตลาดส่งออกที่เติบโตทางตะวันออกของจีน และความสามารถในการตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของ FedEx ของท่าอากาศยานนานาชาติ Pudong

  • เปิดตัวเว็บไซต์ FedEx Mobile ในภาษาต่างๆ ซึ่งรวมถึงภาษาจีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ เกาหลี ญี่ปุ่น และไทยในเดือนมิถุนายน

  • เปิดตัว Extra Large Pak (XL Pak) ใหม่ในตลาดเอเชียแปซิฟิกหลัก 15 แห่งในเดือนสิงหาคม ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย จีน กวม เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี เขตบริหารพิเศษมาเก๊า มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

  • ปรับปรุงบริการ FedEx ในเดือนเดียวกันในเส้นทางเอเชีย-ยุโรป พร้อมเปิดตัวเครื่องบินขนส่ง A300-600 ลำใหม่ในเส้นทางเดิมจากเมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ เข้าสู่ในยุโรปโดยผ่านศูนย์กลางเอเชียแปซิฟิกของ FedEx ที่เมืองกวางโจว ประเทศจีน เป็น 10 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

  • เปิดสถานีดำเนินงานที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้ในเดือนกันยายน เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าและปริมาณพัสดุในประเทศ

  • เพิ่มบริการ FedEx International Economy และ FedEx International Economy® Freight ในเอเชียในเดือนกันยายน ซึ่งจะช่วยให้สามารถให้บริการนี้ได้จากจุดต้นทางที่มากขึ้นภายในเอเชียแปซิฟิกไปยังปลายทางอื่นๆ ในภูมิภาคดังกล่าวและทั่วโลกได้

  • ปรับปรุงบริการ FedEx โดยลดเวลาในการส่งสินค้าให้สั้นลง 1 วันทำการสำหรับการส่งสินค้าที่ไม่ใช่เอกสารจากเอเชียแปซิฟิกไปยังอิตาลี โดยเริ่มให้บริการในเดือนตุลาคม

  • ปรับปรุงเวลาในการส่งสินค้าสำหรับการจัดส่งจากเมืองคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ไปยังปลายทางในทวีปเอเชียให้ลดลง 1 วันทำการในเดือนพฤศจิกายน

2555

  • ขยายเครือข่ายจากเอเชียสู่ตลาดในตะวันออกกลางในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มการเชื่อมต่อจากเอเชียสู่อินเดีย เพิ่มเส้นทางใหม่กวางเจา-มุมไบ-ดูไบ-เดลลี-กวางเจา

  • เปิดตัวแคมเปญขับขี่ประหยัดในตลาดเอเชียแปซิฟิก 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทยในเดือนมีนาคม โดยมุ่งเน้นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและเปลี่ยนนิสัยการขับขี่ประจำวันของพนักงานขับรถ FedEx จำนวนหลายร้อยคน

  • เปิดตัวโปรแกรมการจัดส่งโดยไม่ปล่อยคาร์บอนในเดือนเมษายน โดยการเปิดตัว FedEx Envelope แบบรีไซเคิล 100% และไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน

  • แถลงการตัดสินใจก่อตั้งศูนย์บริการ FedEx ประจำภูมิภาคแปซิฟิกเหนือแห่งใหม่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ Kansai เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะใช้เป็นจุดรวมการจัดส่งจากเอเชียตอนเหนือไปยังสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤษภาคม

  • ขยายเวลาปิดรับบริการสำหรับการจัดส่งพัสดุขาออกจากไต้หวันไปยังยุโรปและแอฟริกาในเดือนมิถุนายนโดยส่งได้จนถึงเวลา 19.00 น.

  • เปิดตัวเส้นทางบินด้วยเครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 เพิ่ม 2 เส้นทางในเอเชียแปซิฟิก โดยเชื่อมต่อเซี่ยงไฮ้และกวางเจาในจีน ไปยังศูนย์กลาง FedEx ในเมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี ด้วยเที่ยวบิน 5 เที่ยวต่อสัปดาห์ในวันอังคารถึงวันเสาร์

  • เพิ่มบริการ FedEx International First ในเอเชียแปซิฟิกในเดือนสิงหาคม ให้บริการลูกค้าในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียและเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดส่งก่อนเวลาทำการสำหรับการจัดส่งพัสดุจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และลาตินอเมริกาไปยังเอเชียแปซิฟิก

  • เปิดตัวเครื่องมือใหม่และการเพิ่มชุดแอพพลิเคชั่น FedEx Mobile ในเดือนสิงหาคม โดยขยายเว็บไซต์ FedEx Mobile ออกไปใน 206 ประเทศ/เขตการปกครอง ครอบคลุม 25 ภาษา ซึ่งลูกค้าในตลาดเอเชียแปซิฟิกทั้ง 30 ประเทศจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการนี้

  • เปิดศูนย์กลาง FedEx ภูมิภาคแปซิฟิกใต้แห่งใหม่ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นศูนย์ขนส่งเร่งด่วนแห่งแรกและแห่งเดียวในสิงคโปร์ เพื่อให้การสนับสนุนลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ดียิ่งขึ้นและยกระดับการเข้าถึงในตลาดโลก

  • เปิดตัวบริการขาเข้าและขาออก FedEx Priority Alert® และ FedEx Priority Alert Plus ในตลาดเอเชียแปซิฟิก 10 ประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อและความอุ่นใจให้กับลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกที่ต้องการตรวจสอบการจัดส่งที่ตรงตามเวลาที่ระบุแน่นอนและต้องการบริการควบคุมอุณหภูมิขณะขนส่งที่เชื่อถือได้ในระดับสูงสุด

  • ลงนามในข้อตกลงกับ Shanghai Airport (Group) Company Limited (SAA) ในเดือนตุลาคม เพื่อสร้างศูนย์กลาง FedEx Shanghai International Express and Cargo แห่งใหม่ในจีน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2560

  • ขยายเวลาปิดรับบริการเพิ่มขึ้น 2 ชั่วโมงสำหรับการจัดส่งขาออกจากไต้หวันไปยังสหรัฐอเมริกา ด้วยบริการเครื่องบินบรรทุกสินค้า Boeing 777 ที่บินตรงจากไทเปโดยไม่หยุดพักระหว่างไทเป และศูนย์กลาง FedEx World Hub ในเมืองเมมฟิส ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม

  • เปิดตัวบริการ SenseAware ในออสเตรเลียและสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าควบคุมการจัดส่งของตนได้ดีขึ้น สามารถติดตามการจัดส่งพัสดุที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องจัดส่งตรงตามเวลาที่ระบุอย่างแน่นอนได้เกือบตรงตามเวลาจริง

2556

  • เปิดตัวขบวนรถบรรทุกสินค้าที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดและปราศจากมลพิษขบวนใหญ่ครั้งแรกสำหรับ FedEx ในเอเชียแปซิฟิก โดยใช้รถบรรทุก 10 คันในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในเดือนมีนาคม

  • เปิดสถานี FedEx Express ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นเมืองการค้าหลักในจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทยในเดือนมีนาคม

  • ส่งมอบแพนด้ายักษ์ 2 ตัวจาก Chengdu ประเทศจีนไปยังสวนสัตว์ Toronto ด้วยเที่ยวบินเช่าเหมา “FedEx Panda Express” MD-11F เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2556

  • Nissan ร่วมกับ FedEx Express จัดการทดสอบภาคสนามสำหรับ e-NV200 ซึ่งเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ใช้ไฟฟ้า 100% ที่สิงคโปร์ในเดือนเมษายน

  • เปิดสถานี FedEx Express แห่งแรกในหาดใหญ่ซึ่งเป็นเมืองการค้าที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของไทยในเดือนมิถุนายน

  • เปิดตัวบริการ SenseAware ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถติดตามพัสดุได้แทบตรงตามเวลาจริงและเพิ่มการรับทราบข้อมูลในการจัดส่งพัสดุ

  • เปิดศูนย์บริการ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งในเดือนกรกฎาคม เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับการจัดส่งระหว่างประเทศ และตอบสนองความต้องการบริการจัดส่งทั้งขาเข้าและขาออกที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าในตอนเหนือของจีน

  • ขยายกลุ่มบริการบรรจุภัณฑ์ควบคุมอุณหภูมิ (TCP) ในตลาดเอเชียแปซิฟิก 13 ประเทศในเดือนสิงหาคม เพื่อเพิ่มตัวเลือกบรรจุภัณฑ์ “การขนส่งด้วยห้องเย็น” แบบใหม่สำหรับลูกค้าที่ต้องการขนส่งด้วยห้องเย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส โดยมีระยะเวลาในการจัดส่งสูงสุด 96 ชั่วโมง

  • เปิดตัว FedEx® Quick Form ในตลาดเอเชียแปซิฟิก 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ซึ่งทำให้ลูกค้าดำเนินการกับพัสดุได้สะดวกยิ่งขึ้น

  • ปรับปรุงโซลูชั่นการจัดส่งแบบเย็นในเดือนตุลาคมเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ และลูกค้าที่ต้องการใช้การขนส่งที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิขณะขนส่ง โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย ผ้าคลุมรักษาอุณหภูมิ (Thermal Blanket), ตัวเลือกแพ็กเกจการจัดส่งพัสดุแบบเย็น (Cold Shipping Package Option), โซลูชั่นการจัดส่งพัสดุแบบแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำมาก (Deep Frozen Shipping Solution) และการเฝ้าสังเกตพัสดุ (ShipmentWatch)

2557

  • ปรับปรุงเครื่องมือจัดส่งพัสดุทางเว็บ FedEx Ship Manager ให้ดียิ่งขึ้นในเดือนมีนาคม โดยปรับให้มีภาษาไทย พร้อมลดจำนวนใบตราส่งสินค้าทางอากาศและใบกำกับสินค้าพาณิชย์สำหรับการจัดส่งขาออกจากจีน

  • เริ่มดำเนินงานศูนย์กลางภูมิภาคแปซิฟิกเหนือแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ Kansai เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่นในเดือนเมษายน เพื่อใช้เป็นจุดรวมและขนถ่ายพัสดุสำหรับการจัดส่งระหว่างเอเชียกับสหรัฐอเมริกา นอกจากเส้นทางเที่ยวบินตรงในปัจจุบันไปยังสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังเพิ่มเส้นทางใหม่ไปยังเมืองอินเดียนาโปลิส ในรัฐอินเดียนาอีกด้วย

  • เปิดตัว FedEx® Global Returns ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นโซลูชั่นการจัดส่งที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ขั้นตอนการส่งคืนทั่วโลกง่ายดายขึ้น ทั้งยังช่วยให้ผู้ค้าปลีกจัดการกับประสบการณ์การส่งคืนของลูกค้าได้ดีขึ้น รวมถึงป้ายส่งคืนที่แก้ไขได้ เอกสารพิธีการศุลกากร และสถานที่ส่งคืนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

  • เพิ่มบริการจัดส่งก่อนเวลาทำการ FedEx International First ใน 31 ประเทศ/เขตการปกครองต้นทางใหม่ ในเดือนตุลาคม ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย

  • เพิ่มเครือข่ายร้านค้าปลีกในฟิลิปปินส์ในเดือนตุลาคม ลูกค้าสามารถส่งพัสดุผ่านศูนย์รับส่งที่ได้รับอนุญาตจาก FedEx ในร้านค้า 2GO Express และ Universal Storefront Services Corporation (USSC) ที่ตั้งอยู่ในจุดสำคัญต่างๆ กว่า 313 แห่งทั่วประเทศ

2558

  • เปิดตัวบริการรับพัสดุและจัดส่งสินค้าอันตรายไปยังจุดหมายปลายทางของลูกค้า ผ่านบริการ FedEx International Priority ในไต้หวันในเดือนมีนาคม ซึ่งลูกค้าไม่ต้องจัดแยกประเภทพัสดุในการขนส่งภาคพื้นดินที่สนามบินอีกต่อไป

  • เพิ่มบริการในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN มากกว่า 5,000 แห่งทั่วไต้หวันในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำให้จุดบริการค้าปลีกของ FedEx มีมากกว่า 6,300 แห่งรวมกับศูนย์รับส่งพัสดุที่ได้รับอนุญาตจาก FedEx อีกกว่า 1,300 แห่งที่สำนักงานไปรษณีย์ Chunghwa Post, ร้านจำหน่ายหนังสือ Eslite, ร้านอัดรูป Kodak Express และศูนย์บริการ Sir Speedy

  • เปิดให้ใช้บริการติดตามผ่าน SMS ของ FedEx® ในประเทศเกาหลีในเดือนกรกฎาคม ซึ่งทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถรับการอัพเดทสถานะการติดตามพัสดุที่อยู่ในระหว่างการขนส่งได้โดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต

  • เปิดตัวโซลูชั่นการจัดส่งพัสดุแบบครบวงจรโดยใช้ระบบควบคุมความเย็นในประเทศจีนในเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าที่ต้องการจัดส่งพัสดุในอุณหภูมิแช่แข็ง

  • ร่วมมือกับ Japan Post เพื่อเปิดให้ใช้บริการจัดส่งพัสดุไปต่างประเทศสำหรับการจัดส่งพัสดุขาออกจากประเทศญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม Japan Post จะขยายขอบเขตบริการจัดส่งพัสดุไปต่างประเทศ U-Global Express ไปยังปลายทางในประเทศสหรัฐอเมริกา และดูแลเรื่องการรับพัสดุจากลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นที่จัดส่งพัสดุไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน FedEx จะให้บริการ International Economy และเดินพิธีการศุลกากร และจัดส่งพัสดุไปยังปลายทางสุดท้ายในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • เปิดตัวบริการ "การจัดส่งพัสดุผ่านทาง My FedEx Delivery" ที่ประเทศออสเตรเลียในเดือนธันวาคม เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดส่งพัสดุถึงบ้าน โดยแจ้งเตือนให้ลูกค้าทราบถึงการจัดส่งพัสดุที่ใกล้จะมาถึง และให้ลูกค้าสามารถเลือกตัวเลือกการจัดส่งได้หลากหลายรูปแบบผ่านทางเว็บไซต์

  • พัฒนาบริการจัดส่งพัสดุขาเข้าในประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม ซึ่ง FedEx ได้จัดส่งพัสดุจากทั่วโลกผ่านบริการ FedEx International Priority หรือ International Economy ไปยังประเทศญี่ปุ่นและเดินเรื่องศุลกากร โดย Japan Post จะช่วยให้บริการการจัดส่งสำหรับพัสดุที่มีน้ำหนักไม่เกิน 30 กก.ภายในประเทศให้ถึงมือผู้รับ

2559

  • เปิดตัวบริการ FedEx Customized Freight (FCF) ในประเทศจีนและประเทศไทย ในเดือนมกราคมและเดือนสิงหาคมตามลำดับ บริการใหม่ดังกล่าวช่วยให้สามารถจัดส่งพัสดุขาออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ และจัดส่งพัสดุขาเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศ/เขตการปกครองอื่นๆ ที่สำคัญในทวีปเอเชียที่ต้องการติดตามดูแลระดับสูงในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์ และกระบวนการจัดส่ง

  • เปิดตัวยานพาหนะ Nissan e-NV200 ที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและใช้ไฟฟ้าทั้งระบบที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนับว่าเป็นอีกขั้นหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายของ FedEx ในการพัฒนาประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงยานพาหนะและลดการปล่อยก๊าซ CO2

  • ลงนามบันทึกความเข้าใจกับท่าอากาศยานนานาชาติอินชอนในเรื่อง "การพัฒนาและการดำเนินการกับอาคารคลังสินค้า FedEx ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน" ในเดือนมีนาคม อาคารคลังสินค้าแห่งใหม่ที่ให้ FedEx ควบคุมดูแลมีกำหนดการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 2562

  • เปิดศูนย์สำหรับสินค้าควบคุมความเย็นแห่งใหม่ที่ทันสมัยที่ FedEx Express World Hub ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซีในเดือนมีนาคม ศูนย์สำหรับสินค้าควมคุมความเย็นได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การจัดส่งพัสดุที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงสินค้าที่เน่าเสียได้ง่ายโดยเฉพาะ ศูนย์ดังกล่าวมีเนื้อที่ 7,710 ตารางเมตร เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการจัดส่งพัสดุควบคุมความเย็นให้ครอบคลุมทั่วโลกมากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการขยายพอร์ตโซลูชั่น FedEx® Healthcare Solutions ให้กว้างขึ้น

  • เข้าซื้อกิจการ TNT Express ในวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อผสานความแข็งแกร่งของเครือข่ายการขนส่งแบบด่วนทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเข้ากับเครือข่ายทางบกในทวีปยุโรปที่ไม่มีใครเทียบได้ และขยายบริการที่ FedEx มีอยู่

  • เปิดให้ใช้บริการ FedEx Virtual Assistant ในประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนามในเดือนมิถุนายน ซึ่งช่วยให้การสอบถามเกี่ยวกับการจัดส่งพัสดุเป็นเรื่องที่รวดเร็วและง่ายดายขึ้นสำหรับลูกค้า โดยมีเนื้อหาครอบคลุมทุกความต้องการ

  • เปิดศูนย์อำนวยความสะดวกแห่งใหม่ที่สนามบินเพิร์ธในเดือนสิงหาคม เพื่อให้ลูกค้าทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลียเข้าถึงเครือข่ายทั่วโลกได้มากขึ้น ศูนย์แห่งใหม่นี้มีเนื้อที่ 3,000 ตารางเมตร โดยมีเนื้อที่มากกว่าศูนย์เดิมที่เพิร์ธถึงสองเท่า และมีที่ตั้งอยู่ใกล้อาคารคลังสินค้าในเมืองเพิร์ธ ทำให้เชื่อมต่อกับทางหลวงขาเข้าได้ดีกว่า ทั้งยังเพิ่มความสามารถของ FedEx ในการเรียกคืนและกระจายการขนส่งด้วย

อัพเดตครั้งล่าสุด: สิงหาคม 2559

1ศูนย์บริการจัดส่งที่ได้รับอนุญาตจาก FedEx จะให้บริการรับฝากพัสดุเพื่อนำไปจัดส่งเท่านั้น ในขณะที่บริการ FedEx ภายในร้านสะดวกซื้อ 7-ELEVEN จะเป็นบริการสำหรับลูกค้าที่ต้องการเลือกเข้ารับพัสดุด้วยตนเองเท่านั้น